รู้หรือไม่!! ภาชนะแบบไหนเข้าไมโครเวฟได้ และแบบไหนเข้าไมโครเวฟไม่ได้?

ยุคสมัยนี้ ไมโครเวฟได้กลายเป็นเครื่องครัวสามัญประจำบ้านไปแล้ว เพราะสะดวก ใช้งานง่าย ร้อนได้โดยไม่ต้องจุดไฟ คิดไรไม่ออกก็ยัดใส่เวฟ แต่มือใหม่อาจจะยังใช้งานกันไม่ถูกต้องนัก โดยเฉพาะภาชนะที่นำไปเข้าเวฟซึ่งหลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่

การเลือกภาชนะที่นำไปเข้าเวฟเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าใช้วัสดุไม่เหมาะสมนอกจากอาหารจะพังแล้ว อาหารอาจมีการปนเปื้อนสารบางอย่างจากภาชนะเข้ามาโดยที่เราไม่รู้ตัว หรือถ้าเกิดระเบิดไฟ ไหม้นี่เรื่องใหญ่แน่นอน

ภาชนะที่สามารถใส่ไมโครเวฟได้

1. พลาสติก

plastic

microwave-symbol

พลาสติกมีความทนต่อความร้อนและสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ คือพลาสติกประเภท Polyethylene terephthalate (PET) หรือ Polypropylene (PP) อื้อหือ แค่เห็นชื่อก็โคตรงงแล้วครับ เอาเป็นว่าภาชนะพลาสติกที่นำเข้าเวฟได้ เค้าจะมีสัญลักษ์บอกอยู่แล้วหล่ะ เพราะจะทำให้ขายได้ง่ายขึ้น

และจะมีพลาสติกบางประเภทที่ทนความร้อนได้ต่ำ ถ้าเรานำเข้าเวฟพลาสติกอาจจะละลายหรือมีสารปนเปื้อนลงไปในอาหารได้ ขอให้มีสัญลักษณ์บอกชัวร์ๆ ว่าเข้าเวฟได้ จะได้ไม่ต้องจ่ายค่าหมอทีหลัง

 

2. เซรามิก

ceramic

เซรามิกแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามวัสดุ เอิร์ทเทนแวร์ (Earthenware), สโตนแวร์ (Stoneware), พอร์ซเลน (Porcelain) หรือ โบนไชน่า (Bone china) ซึ่งแต่ละแบบของเซรามิกผ่านกระบวนการเผาด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกัน แต่ปัจจัยดังกล่าวเพียงแค่มีผลกับระยะเวลาในการเวฟอาหารเท่านั้น สามารถเข้าเวฟได้ทุกตัว

แต่อาจจะต้องระวังในเรื่องของสีที่ใช้ตกแต่งเครื่องเซรามิก ไม่ควรใช้สีที่ฉูดฉาด อย่างสีเงินหรือสีทอง เพราะเป็นสีที่สะท้อนคลื่นไมโครเวฟ อาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้

 

3. แก้ว

glass

สำหรับแก้วนี่สามารถนำเข้าเวฟได้เลย ไม่ต้องคิดมาก เพราะองค์ประกอบของแก้วคือสารอนินทรีย์อย่างทราย มีความทนทานต่อความร้อนสูงมาก ไม่มีผลกระทบต่อวัสดุเมื่ออุณภูมิมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และผิวของแก้วไม่มีการสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ

ภาชนะที่ไม่สามารถใส่ไมโครเวฟได้

1. โลหะทุกชนิด

metal-bowl

เมื่อนำโลหะใส่เตาไมโครเวฟ จะเกิดประกายไฟในส่วนที่เป็นมุมแหลมๆ ของภาชนะที่เป็นโลหะ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้ อันตรายมาก ถ้าใครเคยเผลอนำช้อนหรือส้อมเข้าไมโครเวฟ สังเกตว่าจะมีไฟแล่บแปล๊บๆ ในส่วนปลาย (ถ้าช้อนไม่ได้อยู่ในน้ำ)

และอย่าลืมสังเกตดีๆ เพราะภาชนะบางอย่างไม่ได้ทำจากโลหะทั้งอัน แต่มีบางส่วนที่ตกแต่งด้วยโลหะ หรือมีด้ามจับเป็นโลหะ อันนี้ก็อันตรายเหมือนกันนะ

 

โฟม

foam-bowl

โฟมเนี่ยห้ามนำเข้าเวฟเลยครับ เพราะมันทนความร้อนได้ไม่สูงนัก ตัวโฟมอาจละลายหรือไหม้ได้เลย หรือบางทีอาจจะมีส่วนที่ละลายปนเปื้อนลงไปในอาหารชิบหายแน่นอน

 

วัสดุที่เป็นไม้, กระดาษ

paper-bowl

วัสดุพวกไม้มีโอกาสไหม้ได้ง่ายมาก และสำหรับกระดาษนั้นพอใช้อุ่นอาหารเบาๆ ก็พอไหว แต่ถ้าเผลอใช้ไฟแรงอาจจะเกิดก็ไฟไหม้ได้เลยไม่แนะนำ ถ้าไม่ลำบากไปนักก็แกะใส่ชามพลาสติกเถอะนะ

 

สรุปการเลือกภาชนะ

โดยเบื้องต้นแล้ว วัสดุที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้มักจะเป็นวัสดุที่ทนความร้อนสูงมาก ติดไฟได้ยาก และถ้าเป็นภาชนะที่บรรจุอาหารมาอย่างของแช่แข็ง เค้าจะมีฉลากบอกเลยครับ ว่าเข้าเวฟได้หรือไม่ได้ เอาเป็นว่าถ้าเราไม่แน่ใจก็อย่านำไปเวฟจะดีกว่า เพราะเรื่องความร้อนนี่อันตรายน้า

Category: Blog
Tags: Blog
เรื่องก่อนหน้า
อันตรายจากกล่องโฟม
เรื่องถัดไป
บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย
เมนู